คณะพันธมิตรนักวิจัยไทย จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมมือกับ คณะพันธมิตรนักวิจัยจากทวีปยุโรป เปิดตัวแว่นเสมือนจริง ตัวช่วยฝึกการทรงตัว ผ่านการกระตุ้นหูชั้นใน AR for Vestibular Rehabilitation
×
รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย พร้อมด้วย คณะพันธมิตรนักวิจัยจากทวีปยุโรป ได้แก่ ประเทศกรีซ สหราชอาณาจักร เยอรมนี โปตุเกส อิตาลี สเปน เอสโตเนีย เซอร์เบีย และ คณะพันธมิตรนักวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย โดยการนำทีมของ อ.ดร.พญ.นัตวรรณ อุทุมพฤกษ์พร อาจารย์ประจำภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา และแพทย์เฉพาะทางด้านโสตประสาทวิทยา ประจำคลินิกการได้ยินและการทรงตัวขั้นสูง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ร่วมกันแถลงข่าว เปิดตัวแว่นเสมือนจริง ตัวช่วยฝึกการทรงตัวผ่านการกระตุ้นหูชั้นใน AR for Vestibular Rehabilitation ซึ่งโปรแกรมการออกกำลังกายด้วย Hologram ลดอาการเวียนหัวหกล้มด้วยตนเองที่บ้าน ผ่านระบบทางไกล Telemedicine ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง “TeleRehabilitation of Balance clinical and economic Decision Support System” โดยได้รับงบประมาณจากทางสหภาพยุโรป European Health and Digital Executive Agency ซึ่งดำเนินการภายใต้อำนาจของ the European Commission โดยงานแถลงข่าวจัดขึ้น ณ ลานอเนกประสงค์ อาคารอานันทมหิดล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งภายในงานยังมีกิจกรรมเสวนาต่างๆ ดังนี้ ...
• กิจกรรมเสวนาหัวข้อ “ภัยใกล้ตัวผู้สูงวัย - เฝ้าระวังสัญญาณอันตรายจากภาวะโรคต่างๆ ที่มีผลต่อปัญหาการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ” ระหว่างคณะผู้แทนพันธมิตรนักวิจัยทางคลินิคจากทวีปยุโรป โดย Dr. Marousa Pavlou จาก University College London สหราชอาณาจักร ร่วมกับ Dr. Dimitris Kikidis จาก National and Kapodistrian University of Athens ประเทศกรีซ และ อ.ดร.พญ.นัตวรรณ อุทุมพฤกษ์พร หัวหน้าทีมวิจัยประจำประเทศไทย อาจารย์ประจำภาควิชา โสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเข้าร่วมพูดคุย ในทุก ๆ กิจกรรมเสวนาของวันนี้
• กิจกรรมเสวนาหัวข้อ “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการแพทย์ทางไกล ช่วยป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุได้อย่างไร & ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุได้จริงหรือ” ระหว่างคณะผู้แทนพันธมิตรนักวิจัยทางด้านเทคนิคในทวีปยุโรป ได้แก่ Dr. Vassilis Tsakanikas จาก University of Ioannina ประเทศกรีซ Dr. Aleksandra Vulović จาก BIOIRC DOO KRAGUJEVAC ประเทศเซอร์เบีย และ รศ.พญ.โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ อ.นัตวิไล อุทุมพฤกษ์พร อาจารย์พิเศษ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิจัยจาก City University of London ประเทศอังกฤษ หัวหน้าศูนย์ Lifesciences Launchpad บริษัท บินได้ จำกัด