medicalfocusth
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์โชว์ 7 ทศวรรษแห่งความภูมิใจสู่อนาคตสุขภาวะเด็กไทย
×
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า การประชุมวิชาการกุมารเวชศาสตร์ “สุขภาพเด็กแห่งชาติ ครั้งที่ 25 ประจำปี 2567 ถือว่าเป็นการริเริ่มการบูรณาการการขับเคลื่อนการดูแลรักษาโรคเด็กระดับชาติ (Service Plan) ด้านแม่และเด็กในเขตสุขภาพ และยังคงมุ่งมั่นจะส่งเสริมให้มีการพัฒนาต่อยอดให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ การพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ การประเมินความคุ้มค่าและการตรวจรักษาแบบใหม่ Precision Child Healthโดยการตรวจหายีนการแพ้ยากันชักเพื่อความปลอดภัยในการเลือกยากันชัก และการตรวจคัดกรองแม่นยำ (Precision medicine) ในทารกที่มีความเสี่ยงของโรคพันธุกรรมเมตาบอลิค 40 โรคในครั้งเดียว เช่น Phenyl ketone urea (PKU)
โรคปัสสาวะกลิ่น Maple syrup ซึ่งจะทราบผลและได้รับการรักษารวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อลดความเจ็บป่วยรุนแรง ลดความพิการถาวรและการเสียชีวิตในวัยทารก เพื่อนำผลการศึกษาวิจัยส่งมอบต่อผู้กำหนดนโยบายและผลักดันให้เกิดการบริการทางการแพทย์ เข้าไปสู่ชุดสิทธิประโยชน์ในระบบสุขภาพของประเทศ ตอบสนองนโยบาย นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้คนไทยได้รับบริการสุขภาพอย่างเหมาะสม รวมถึงมุ่งเน้นความร่วมมือทางวิชาการและพัฒนาการดูแลรักษาสุขภาพเด็กกับเครือข่ายสุขภาพระดับชาติและนานาชาติ เพื่อต่อยอดให้เกิดการขยายผลและความร่วมมือทางวิชาการด้านโรคเด็กระดับชาติ ถือว่าเป็นโอกาสที่ให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เป็นการจุดประกายความคิด เพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ และพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรในการส่งเสริมสุขภาพและดูแลรักษาผู้ป่วยเด็ก อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาด้านระบบบริการสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุข ที่มุ่งมั่นให้การดูแลรักษาและส่งเสริมสุขภาพประชาชนโดยถ้วนหน้าอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
นายแพทย์อัครฐาน จิตนุยานนท์ ผู้ช่วยอธิบดีกรมการแพทย์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวเพิ่มเติมว่า สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีได้ดำเนินการจัดประชุมวิชาการประจำปีกุมารเวชศาสตร์ “7 ทศวรรษแห่งความภูมิใจสู่อนาคตสุขภาวะเด็กไทย” เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านการดูแลรักษาโรคเด็กให้กับบุคลากรทางการแพทย์และผู้เกี่ยวข้อง สร้างเครือข่ายการดูแลรักษาด้านโรคเด็กอย่างเป็นรูปธรรม พัฒนารูปแบบแนวทางการให้บริการรักษาโรคเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความเข้มแข็งกับเครือข่ายในส่วนภูมิภาคและพัฒนาความร่วมมืออย่างมีคุณภาพ ตลอดจนเป็นเวทีนำเสนอผลงานวิชาการด้านสุขภาพเด็ก เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในงานของตน และสร้างความตื่นตัวในการพัฒนาคุณภาพทางวิชาการ สร้างความตื่นตัวในการพัฒนาคุณภาพทางวิชาการ
ในครั้งนี้มีผู้เข้าประชุมจำนวน 200 คน แบบประชุมทางไกล จำนวน 300 คน มีการบรรยาย อภิปรายปัญหาและการนำเสนอผลงานทางวิชาการ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ กุมารแพทย์ แพทย์ทั่วไป พยาบาล ทันตแพทย์ เภสัชกร และนักวิชาการสาธารณสุขจากเขตสุขภาพ 13 เขตสุขภาพ ได้รับเกียรติจากผู้ตรวจราชการกระทรวงเขตสุขภาพที่ 1 2 และ 9 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรมการแพทย์ กรมอนามัย โรงพยาบาลรามาธิบดี University of California, San Francisco